คำสั่งเบื้องต้นของภาษา C

1. คำสั่ง scanf() เป็นฟังก์ชันที่รับค่าจากอุปกรณ์นำเข้ามาตรฐาน และนำค่าที่ได้เก็บไว้ในตัวแปรในโปรแกรม
รูปแบบคำสั่ง

เมื่อโปรแกรมทำงานถึงฟังก์ชันนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อมูล โดยข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จกด Enter ข้อมูลทั้งหมดจะเก็บในตัวแปร var ชนิดของข้อมูลที่กำหนดให้กับตัวแปร var จะถูกกำหนดโดยตัวกำหนดชนิดข้อมูลซึ่งระบุในส่วนของ format code ตัวกำหนดชนิดข้อมูลของฟังก์ชัน scanf() จะเหมือนกับของฟังก์ชันprintf() ฟังก์ชัน scanf() จะทำให้เคอร์เซอร์ ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากกด Enter
ตัวอย่าง
#include "stdio.h"
#include "conio.h"

void main()
{
int a,b,c;
clrscr();
printf("Enter three integer numbers : ");
scanf("%d%d%d",&a,&b,&c);
printf("a = %d b = %d c = %d \n",a,b,c);
}
เป็นการป้อนเลขจำนวนเต็ม 3 ตัวให้กับตัวแปร a,b และ c ในการป้อนตัวเลขให้เว้น ช่องว่างระหว่างตัวเลขแต่ละชุดซึ่ง scanf() จะข้อมช่องว่างไปจนกระทั่งพบตัวเลขจึงจะอ่านข้อมูลอีกครั้ง


2. ฟังก์ชั่น printf() เป็นฟังก์ชั่นใช้ พิมพ์ค่าข้อมูลไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์
รูปแบบคำสั่ง
control string อาจจะเป็นตัวอักษร ข้อความหรือตัวกำหนดชนิดข้อมูล (specifier) ซึ่งใช้กำหนดชนิดข้อมูลที่จะพิมพ์ ตัวกำหนดชนิดข้อมูล
ตัวกำหนดชนิดข้อมูล
%c แทนตัวอักษร
%d แทนเลขจำนวนเต็ม
%e แทนเลขในรูปเอกซ์โพเนนเชียล (exponential form)
%f แทนเลขทศนิยม
%0 แทนเลขฐานแปด
%s แทนสตริงก์
%u แทนเลขจำนวนเต็มไม่คิดเครื่องหมาย
%x แทนเลขฐานสิบหก
%p แทนข้อมูลแบบพอยน์เตอร์ (pointer)
%% แทนเครื่องหมาย %

สามารถดัดแปลงเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดชนิดข้อมูลอื่นๆได้โดย โมดิฟายเออร์ (modifier) l,h และL โมดิฟายเออร์ l จะสามารถใช้กับตัวกำหนดชนิดข้อมูล %d, %o , %u และ %x เพื่อใช้กับข้อมูลชนิดยาวเช่น %ld หมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มยาวโมดิฟายเออร์ h จะใช้ในลักษณะเดียวกันกับข้อมูลชนิดสั้น เช่น %hd หมายถึง ข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มสั้น
สำหรับข้อมูลชนิดทศนิยมจะมีโมดิฟายเออร์ l และ L โดย l จะหมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด 2 เท่า ส่วน L จะหมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงรายละเอียด 2 เท่า เช่น %lf หมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด 2 เท่า
ตัวอย่าง
#include
#include
void main(void)
{
int n;
clrscr();
n=100;
printf("Number = %d",n);
getch();
}

3. ฟังก์ชัน getchar() ฟังก์ชัน getchar() ใช้สำหรับป้อนตัวอักษรผ่านทางแป้นพิมพ์โดยจะรับตัวอักษรเพียง 1 ตัวเท่านั้น และแสดงตัวอักษรบนจอภาพ
รูปแบบคำสั่ง เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนตัวอักษร 1 ตัว หลังจากนั้นกด Enter ตัวอักษรที่ป้อนจะถูกเก็บไว้ในตัวแปร ch ซึ่งเป็นชนิดตัวอักษรและเคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getchar() กำหนดในไฟล์ stdio.h เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf()
ตัวอย่าง
#include

void main()
{
char ch;
printf("Type one character ");
ch = getchar();
printf("The character you type is %c \n",ch);
printf("The character you typed is ");
putchar(ch);
}
การใช้ฟังก์ชัน putchar() แทน printf() จะพิมพ์ตัวอักษร 1 ตัว และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่


4. คำสั่ง getche(); และ getch();
คำสั่ง getche(); จะรับตัวอักษร 1 ตัวที่ป้อนทางแป้นพิมพ์
รูปแบบคำสั่ง getche();
ความหมาย
ch หมายถึง ตัวแปรชนิดตัวอักษร

แสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getch() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getche() ต่างกันตรงที่จะไม่แสดงตัวอักษรขณะป้อนข้อมูล ฟังก์ชัน getche() และ getch() กำหนดในไฟล์ conio.h ดังนั้นจะต้องระบุไฟล์ดังกล่าวในโปรแกรม
ตัวอย่าง คำสั่ง getche();
#include "stdio.h"
#include "conio.h"
void main(void)
{
char answer;
clrscr();
printf("Enter A Character : ");
answer=getche();

printf("\n");
printf("A Character is : %c\n",answer);
getch();
}


คำสั่งgetch(); คือฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับข้อมูลชนิดตัวอักษร ผ่านแป้นพิมพ์ 1 ตัวอักษร
รูปแบบคำสั่ง getch();
จะไม่แสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนตัวอักษรเสร็จแล้ว ไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ และเป็นฟังก์ชันที่กำหนดอยู่ในไฟล์ conio.h รูปแบบคำสั่ง ความหมาย
ตัวอย่าง คำสั่ง getch();
#include
#include
void main(void)
{
char answer;
clrscr();
printf("Enter A Character : ");
answer=getch();
printf("\n");
printf("A Character is : ");
putchar(answer);
getch();
}


5. ฟังก์ชัน gets() ฟังก์ชัน gets() ใช้สำหรับข้อมูลชนิดสตริงก์หรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์
รูปแบบคำสั่ง
เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อความ เมื่อป้อนเสร็จแล้วกด Enter ข้อความ ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอาร์เรย์สตริงก์ str โดย carriage return (จากการกด Enter) จะแทนด้วยสตริงก์ศูนย์ ฟังก์ชัน gets() จะทำให้เคอร์เซอร์ขึ้นบรรทัดใหม่ หลังจากกด Enter กำหนดในไฟล์ stdio.h
ตัวอย่าง

#include”stdio.h”
main()
{
char message[50];
printf(“ Enter a message(less than 49 characters)\n”);
gets(message);
printf(“ The message you entered is %s\n”,message);
}

วันพฤหัสบดี

ขั้นตอนวิธีการสอนทำแมโครในไมโครซอฟต์เวิร์ด

1. เปิด Microsoft Word 97 ขึ้นมาและสมมติ ว่าในตัวอย่าง จากรู้ข้างล่างนี้ จะเห็นว่าเอกสารของฉันนั้น ก็มีข้อความอยู่เหมือนเอกสารทั่วๆ ไป แต่สมมติกว่า ฉันต้องการที่จะแก้ไขให้ส่วนที่เป็นหัวข้อนั้น เด่นขึ้นมา โดยที่ฉันตั้งใจว่า จะทำการเปลี่ยน Font เป็น Arial ขนาด 14 และเป็นตัวหนา แต่ถ้าโดยปกติ คุณก็ต้องทำตาม 3 ขั้นตอนนี้ กับทุกๆ หัวข้อใช่ใหมค่ะ คือไปทำ Select ที่หัวข้อนั้นๆ แล้วก็จัดการเปลี่ยน Font ต่างๆ ตามที่ต้องการ ... แต่คงไม่สนุกแน่ๆ หากมีหัวข้อต่างๆ ที่ให้คุณต้องการเปลี่ยน หลายๆ ตัว ดังนั้น บทความนี้ เราจะมาดูวิธีการสร้างแมโคร กันนะค่ะ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการทำงานนะค่ะ เพราะว่า คุณสามารถ สั่งให้โปรแกรมทำงานต่างๆ พวกนี้แทนคุณได้
2. วิธีการก็คือ ให้คุณทำ Select ข้อความที่เป็นหัวข้อไว้ก่อน ดังรูปข้างล่าง
3. ให้คุณเข้าไปที่เมนู Tools -> Macro -> Record New Macro... ดังรูปข้าล่าง
4. จากนั้นจะมีหน้าจอดังรูปข้างล่างนี้ ก็ให้คุณกำหนดชื่อของแมโครนี้ ซึ่งในตัวอย่างนี้ ฉันกำหนดเป็น ChangeFont นะค่ะ จากนั้นกด OK ได้เลยค่ะ (สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเป็น Shortcut Key คุณต้องกดปุ่ม Keyboard นะค่ะ เพื่อเข้าไปทำการ กำหนดว่า จะให้ใช้ Shortcut
5. และในระหว่างนี้ โปรแกรม จะทำการบันทึกการทำงานของคุณนะค่ะ ให้สังเกตุจากรูปข้างล่างนี้ว่า จะมีเครื่องมือ ที่ให้ หยุดการบันทึก ซึ่งเป็นรูปสี่เหลื่ยม และอีกปุ่มก็เป็นการหยุดการบันทึก แบบชั่วคราว
และหน้าที่ของคุณตอนนี้คือว่า ให้คุณทำการเปลี่ยน Font เป็น Arial ขนาด 14 และเป็นตัวหนา ให้เรียบร้อยค่ะ ซึ่งโปรแกรมจะทำการบันทึก การทำงานต่างๆ ของคุณลงแมโครที่ชื่อว่า ChangeFont ครับ เมื่อเสร็จแล้ว ให้กดปุ่มดังรูปข้างล่างนี้ เพื่อทำการหยุดการบันทึกแมโครค่ะ ก็เป็นอันว่าเรียบร้อยครับ งานทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ ก็จะถูกบันทึกลงแมโครชื่อ ChangeFont เรียบร้อย
6. วิธีการเปิดแมโครที่สร้างขึ้นมา ให้อยู่บน Toolbar ต่อไปเราก็มาดูวิธีการนำเอาแมโครที่เราสร้างนี้มาใช้นะค่ะ ก็คือให้คุณคลิกขวาที่ Toolbar นะค่ะ เมื่อเกิดเมนูขึ้นมาดังรูปข้างล่างนี้ ให้คุณคลิกที่ Customize
เมื่อถึงขั้นนี้ให้คุณเข้าไปที่ส่วนของ Commands และทางฝั่ง Categories: ให้คุณเลือก Macros นะค่ะ คุณจะเห็นว่าฝั่ง Commands: นั้นจะมีแมโครต่างๆ ที่คุณได้สร้างขึ้นมา (และในที่นี้ คุณจะเห็นว่า มีปุ่ม Keyboard.. เพื่อให้คุณสามารถกำหนด Shortcut Key ได้เช่นกันค่ะ ซึ่งเมื่อคุณกดปุ่มนี้ คุณจะสามารถทำการกำหนดว่า จะใช้ Shortcut Key ไหนในการเรียนใช้งานแมโคร

และหน้าที่ของคุณในการนำแมโครดังกล่าวไปใส่ใน Toolbar ก็คือว่า ให้คุณทำการ Drag Mouse ที่แมโครที่คุณสร้างขึ้นนี้ เอาไปวางในตำแหน่งของ Toolbar ตามที่คุณต้องการดังรูปข้างล่าง

คุณจะเห็นว่าปุ่มนั้น มีขนาดที่ใหญ่เกะกะ ดังนั้น วิธีการแก้ไขคือว่าให้คุณคลิกขวาที่ปุ่มนี้ต่อเลยนะค่ะ และ ช่อง Name: คุณอาจจะเปลี่ยนชื่อให้สั้นลงก็ได้ หรือว่าคุณจะเลือกเป็น Default Style ดังรูป

จากนั้นก็ Close หน้าต่าง Customize ไปก็เป็นอันเรียบร้อยค่ะ คุณจะได้รูปเครื่องมือ ที่มีลักษณะดังรูป นี้

7. วิธีการใช้งานแมโคร วิธีใช้ก็คือว่าหลังจากที่คุณ Select ข้อความที่เป็นหัวข้อ ตามข้อ 2 เรียบร้อยแล้ว ให้คุณคลิกปุ่ม ที่ Toolbar ที่คุณได้สร้างขึ้นมานะครับ และคุณจะเห็นว่า การทำงานต่างๆ ที่เก็บการปรับเปลี่ยน Font โปรแกรมก็จะทำงานให้คุณโดยอัตโนมัติ ซึ่งหาคุณมีหลายๆ หัวข้อ คุณก็แค่เพียงแต่ทำการ Select หัวข้อนั้นๆ และกดปุ่มดังกล่าว ก็จะเป็นการประหยัดเวลาให้คุณ

8. ที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เป็น เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการใช้งานแมโครนะค่ะ และในบทความนี้ ฉันได้ยกตัวอย่างการทำงานง่ายๆ นะค่ะ เพื่อให้คุณได้มองเห็นภาพและนำไปประยุกค์ใช้ในงานอื่นๆ แล้วแต่คุณ นะครับ ... และหากคุณเห็นว่า กระซิบ.คอม มีประโยชน์ และต้องการให้ทีมงานของเรา อยู่นำเสนอ เทคนิกกับคุณต่อไปนานๆ ป้ายโฆษณาข้างล่างนี้ ผมฝากดูแลด้วยนะค่ะ โดยการคลิกเข้าไปชมสิ่งที่น่าสนใจ กันนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น